วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

คำทำนายของ"หลวงพ่อฤาษีลิงดำ"

"ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวก กาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา เป็นประชาจนเต็มพระนคร
ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแ ห่งแผ่นดิน
ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา
จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
ข้าราชการตงฉินถูกประนาม สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี
ประช าชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย
แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดก ารปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม
ความระทมจะถมทับนับเทวศ ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำ ท่าดัง
จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ
ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ"

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทรรศนะของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน: ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2550

ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการกรองสถานการณ์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551 เรื่องการแก้ไข รธน.50 ไว้ ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญดังนี้ 1.รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 คือ รธน. ที่แย่งชิงอำนาจการปกครองที่แท้จริงไปจากประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นี้สร้างขึ้นมาโดยดูถูกประชาชน แบ่งประชาชนเป็นชนชั้นสูง กับชนชั้นล่างธรรมดา ต้องการให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ตั้งสมมติฐานการร่างขึ้นมาด้วยความรังเกียจนักการเมืองว่าเป็นคนที่ควรกำจัดไปให้หมด โดยลืมไปว่า รัชกาลที่ 7 ไม่ได้พระราชทานอำนาจการปกครองให้แก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ แต่พระราชทานให้แก่ประชาชนธรรมดาๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในประเทศไทยมีกว่า 42 ล้านคน แต่ให้อำนาจในการยุบ ไม่ยุบ ผิด ไม่ผิด ให้กับคนเพียง 4-5 คนที่รับอำนาจมาจากคณะรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือคณะตุลาการอะไรก็ตาม 2.การลงประชามติรับรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่เจตจำนงที่แท้จริงของประชาชน มีความพยายามอ้างว่ามีประชาชนลงมติเห็นด้วยถึง 14 ล้านเสียง และไม่เห็นด้วย 10 ล้านเสียง ทั้งๆ ที่ประชาชนผู้มีสิทธิมีมากกว่า 42 ล้านคน จำนวนที่มาลงประชามติมีเพียงประมาณ 30% ของผู้มีสิทธิเท่านั้น โดยก่อนหน้านั้นและแม้ในขณะที่ลงประชามติก็มีการกล่าวอ้างว่า ให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน มิฉะนั้น คณะรัฐประหารจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับใช้บังคับปกครองประเทศ หรือให้รับๆ ร่างไปก่อน อะไรไม่ดีให้แก้ไขทีหลังได้ และผลักดันให้รับโดยอ้างว่าจะได้มีการเลือกตั้งเสียที จึงอนุมานได้ว่า ในจำนวน 14 ล้านเสียงที่รับนั้น เข้าใจว่า 50% จำใจยอมรับรัฐธรรมนูญ 2550 นอกจากนี้ยังมีการใช้อำนาจรัฐออกไปมัดมือมัดเท้า ปิดปาก ปิดขมับ ให้ข้อมูลด้านเดียว ส่งคนไปคุมการลงคะแนน ในฐานะที่ตัว ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เอง ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่เคยเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด ไม่เห็นด้วยที่จะมาอ้างการลงประชามติครั้งนั้นเมื่อจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจากจะเป็นตัวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อบ้านเมือง และไม่เห็นด้วยว่าควรแก้เฉพาะมาตรา 237 และ 309 แม้จะทำได้ก็ไม่ควรทำ เพราะพรรคการเมืองต่างๆ ก็ไปหาเสียงไว้แล้วว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงควรแก้ทั้งฉบับ 3.รัฐธรรมนูญ 2540 พิสูจน์แล้วว่า สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับประเทศไทย รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ทำให้การเมืองเข้มแข็ง รัฐบาลสามารถอยู่ได้จนครบวาระเป็นครั้งแรกในประเทศไทยของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เท่านั้น จึงจะเป็นหัวใจสำคัญในการนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศชาติ ความเข้มแข็งทางการเมืองจะทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า สิงคโปร์มีคนเพียง 4 ล้านคน แต่เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไทยที่มีคนถึง 64 ล้านคน ก็เพราะความเข้มแข็งของการเมืองการปกครอง ประเทศมาเลเซียนั้น อำนาจการบริหารการปกครองมีความต่อเนื่อง เขายอมรับกติกา แม้บางอย่างจะดูค่อนข้างเป็นกึ่งเผด็จการ เขาจึงพัฒนารุดหน้าได้ ในขณะที่ประเทศไทยยังถอยหน้าถอยหลัง เพราะใครเก่งขึ้นมาก็ต้องฟันมันให้บรรลัย เพราะคนไทยนั้นเป็นคนขี้อิจฉา ขี้นินทา ขี้หาเรื่อง ขี้เบื่อ ขี้ลืม ปัญหาจึงอยู่ที่ตัวคนไทยเราเอง 4.รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ขัดต่อหลักทั้งนิติรัฐและนิติธรรม ทั้งๆ ที่มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 กำหนดว่า องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ครม. สภา ศาล องค์กรอะไรต่างๆ ต้องดำเนินการตามหลักนิติธรรม แต่พอมาถึงมาตรา 309 กลับประกาศนิรโทษกรรมแบบเซ็นเช็คล่วงหน้าไว้เลยว่า การกระทำใดๆ ของพวกคณะรัฐประหารที่ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมา ถือว่าไม่มีความผิด ทั้งอดีต ปัจจบัน และอนาคต การบัญญัติเช่นนี้เป็นเรื่องวิปลาส และไม่เคยมีปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใด การกล่าวอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ว่าบัญญัติไว้นั้นก็อ้างไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ไม่ถูกต้องที่จะยกเว้นโทษให้คณะรัฐประหารทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมไปถึงองค์กรที่ตั้งขึ้นมา โดยคณะรัฐประหารด้วย เคยมีนายทหารระดับสูงมาปรึกษา ดร.อุกฤษ ว่าควรกำหนดไว้เช่นนี้หรือไม่ ซึ่งท่านบอกว่าไม่ควร เพราะความเลวร้ายนี้จะติดตัวผู้ร่างและเป็นรอยด่างครั้งสำคัญของระบบกฎหมายไทย การที่คนจะบอกว่าใครทำผิดหรือไม่ผิดนั้น ต้องให้องค์กรอื่นเป็นผู้บอก ไม่ใช่ตัวเองทำผิดแล้วโมเมว่าตัวเองไม่ผิด ลูกน้องของตัวเองก็ไม่ผิด ต่อไปพวกตนเองทำอะไรในวันข้างหน้าก็ถือว่าไม่ผิดด้วย นี่ขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างชัดเจน ถือเป็นหลักนิติธรรมเถื่อน ไม่ใช่หลักนิติธรรมสากล 5.รัฐสภาวันนี้ยังไม่ใช่รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หลักการที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย กำลังถูกละเมิดในรัฐสภาเพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เพราะความหมายของคำว่า ปวงชน คือ เสียง 42 ล้านคนที่มีความเท่าเทียมกัน มีเสียงเสมอภาคกันคนละ 1 เสียง ไม่อาจแบ่งแยกกันได้เพราะบังเอิญมีชาติตระกูลสูงกว่าผู้อื่น มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าผู้อื่น หรือมีประสบการณ์มานานกว่าผู้อื่น ทุกคนมี 1 เสียงเท่าเทียมกัน ความไม่ถูกต้องนี้เห็นชัดจากหลายประเด็น เช่น การมีวุฒิสมาชิกที่มาจากการคัดสรรจากคนเพียง 4-5 คน แต่มีอำนาจเท่าเทียมกับผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ ทั้งยังสามารถออกเสียงได้เท่าเทียมกับผู้ที่มาจากการเลือกตั้งโดยคน 42 ล้านคน นี่ไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย คน 4-5 คนมีอำนาจเท่าคนกว่า 42,000,000 คน รวมทั้งการกำหนดให้เลือกตั้งวุฒิสมาชิกจังหวัดละ 1 คน ทั้งๆ ที่จังหวัดเล็กๆ อย่างระนองมีพลเมืองที่น้อยกว่ากรุงเทพมหานครหลายสิบเท่า แต่กรุงเทพมหานครกับระนองกลับมีวุฒิสมาชิกได้จังหวัดละ 1 คนเท่ากัน ภาษีอากรของคนกรุงเทพมหานครนั้นมีมูลค่าถึง 50% ของรายได้รัฐ แต่กลับมีสิทธิเท่ากับจังหวัดทั่วไปจังหวัดหนึ่งเท่านั้น หรือองค์กรอิสระทั้งหลายที่ทำหน้าที่กันอยู่ขณะนี้นั้น ก็ใช้วิธีการคัดสรร เลือกสรรเข้ามา บางคน บางองค์กรไม่เคยรู้เรื่องการเมือง ไม่เคยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง กลับเข้ามามีส่วนสำคัญในการคัดสรรบุคคลต่างๆ เข้ามาทำหน้าที่สำคัญควบคุมดูแลนักการเมืองได้อย่างไร ในขณะที่นักการเมืองมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะให้ลงเลือกตั้งบ้างก็เฉไฉ อ้างกันไปว่ากลัวการซื้อเสียง ดร.อุกฤษ ได้ยกตัวอย่างข้าราชการระดับอธิบดีคนหนึ่งในกรมการประกันภัย เคยออกระเบียบที่เอกชนแจ้งให้ทราบว่าใช้บังคับไม่ได้ เป็นเรื่องเพ้อฝัน ข้าราชการผู้นั้นบอกว่าต้องได้ เพราะข้าราชการกำหนดแล้ว ต่อมาออกไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งก็ยอมรับว่าตนเองคิดผิด ทำผิด เพราะระเบียบนั้นใช้ไม่ได้จริงๆ ดร.อุกฤษ ได้เตือนสติกลุ่มอดีตข้าราชการและบุคคลที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้ง คตส. คตง. สตง. ศาลฎีกา ฯลฯ ไว้ว่า หากจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินประการใดเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง ต้องรู้จักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยให้ถ่องแท้เสียก่อน ไม่ใช่เหมือนปัจจุบันที่ทำตนเป็นพวกนั่งดูอยู่ริมตลิ่ง ตำหนิปลาต่างๆ ที่ว่ายอยู่ว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีระเบียบ คอยช้อนปลาที่ตัวเองไม่ชอบไปไว้บ่ออื่น กระทำการตามใจและความรู้สึกของตัวเองโดยไม่สนใจเสียงของประชาชน ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นั้นถือว่าต้องทำตามหลักนิติธรรม การพิจารณาคดีความต้องรวดเร็ว เที่ยงธรรม ยุติธรรม ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงกลับปรากฏว่า หากผู้ใดเป็นปฏิปักษ์ต่อพวกของตน ก็กำหนดไว้ในความคิดของพวกตนเลยว่า ทุกคนเป็นคนทุจริตไว้ล่วงหน้าแต่ต้น แล้วอ้างแบบไร้ยางอายว่าทำได้ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่มันขัดต่อกฎหมายและหลักนิติธรรมสากลอย่างแจ่มชัด และยังต่ออายุให้กับคณะกรรมการกลุ่มนั้นอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

การเลือกคบเพื่อน


การคบเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเพื่อนมีอิทธิพลต่อจิตใจและการกระทำของคุณ
เพราะคุณมักจะทำตามเพื่อนของคุณโดยนึกว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่บางสิ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี
โดยคุณอาจจะคิดว่าไม่เห็นจะไม่ดีตรงไหนก็เพราะคุณอยู่กับเพื่อนและเห็นการกระทำของ
เพื่อนของคุณจนชินตา จึงไม่รู้สึกอะไร แต่พ่อ-แม่ของคุณเล็งเห็นเพราะท่านมีประสบการณ์
มากกว่าคุณ ดังนั้นการคบเพื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นเราจึงมีวิธีในการตรวจสอบว่า

เพื่อนของคุณเป็นเพื่อนที่ควรคบหรือไม่
1.เพื่อนที่ดีต้องมีน้ำใจ รู้จักให้และรู้จักช่วยเหลือกันและกัน
2.เคารพสิทธิกันและกัน
3.ให้เกียรติกันและกัน
4.รู้จักให้อภัยกันและกัน
5.ชักชวนเราไปในทางที่ดี ไม่ใฝ่อบายมุข
6.มีความจริงใจให้กันและกัน
7.รู้จักตักเตือนกันและกัน
8.ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
9.ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน
10.รู้จักเป็นผู้แพ้บ้าง รับฟังเหตุผลของกันและกัน
(เพื่อนที่ดีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกข้อที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ควรจะมีสักครึ่งนึงก็ยังดี)

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เปิดหัว


...ไหนๆก็มาแล้ว
ถ้าว่าง หรืออยาก บอกอะไร ก็เชิญบันทุกลงไปได้เลย